วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แคนตาลูป

แคนตาลูป เป็นพืชที่ชอบ อากาศอบอุ่นถึงร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับ การงอกของราก แคนตาลูป อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของ อุณหภูมิระหว่าง กลางวันกับกลางคืน มีอิทธิพลต่อ ความหวาน และคุณภาพของ แคนตาลูป ถ้าความแตกต่าง ยิ่งมากจะทำ ให้ความหวาน และคุณภาพยิ่งสูง แต่สภาพที่หนาวเย็น จะทำให้ผลแคนตาลูปไม่โต การเจริญเติบโตจะชะงัก แคนตาลูปเป็นพืชที่ ชอบแสงแดด ตลอดวัน ฉะนั้นในการเลือกพื้นที่ ปลูกควรเป็นพื้น ที่โล่งแจ้ง และไม่เคยปลูกพืช ตระกูลแตงมาก่อน ควรเป็นดินร่วน ปนทรายระบายน้ำ ได้ดี มีความเป็น กรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 6.0-6.8
การเตรียมเมล็ดพันธุ์และการหยอดเมล็ดแคนตาลูปพื้นที่ปลูก 1 ไร่ เตรียมเมล็ดพันธุ์อัตรา 0-100 กรัมนำเมล็ดเมล็ดพันธุ์บรรจุลงในถุงพลาสติก หรือถุงซิบที่เจาะรูพรุน หรือถุงเน็ต ลงแช่ในน้ำสะอาดนาน 4-6 ชม. จากนั้นนำเมล็ดออกมาสลัดน้ำทิ้งใช้ผัาขนหนูที่เปียกพอหมาดๆ ห่อ และนำไปบ่มในอุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส โดยใช้หลอดไฟขนาด 40-60 W. บ่มนาน 24 ชม. เมล็ดแคนตาลูปจะเริ่มงอกรากยาวประมาณ 0.5 ชม. ก็สามารถนำไปหยอด ลงในถุงดินหรือถาดเพาะกล้าต่อไปการเตรียมถุงดินสำหรับเพาะเมล็ด ใช้ดินร่วน 2-3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ ปุ๋ย 0-46-0 กำมือ ผสมให้เข้ากัน กรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×4 นิ้ว หรือ 4×6 นิ้ว โดยเจาะรูที่ก้นถุงทั้ง 2 ข้าง เพื่อระบายน้ำ และนำถุงดินไปวางเรียงในแปลงเพาะ ขนาดกว้าง 1.0-1.5 เมตร โดยวางเรียงประมาณ 12-15 ถุงต่อแถว จากนั้นรดน้ำถุงดินให้ชุ่ม นำเมล็ดที่งอกราก แล้วหยอดลงไปถุงละ 1 เมล็ด หลังหยอด 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มชูใบเลี้ยงขึ้นมา ช่วยแกะเอาเปลือกของเมล็ดออกด้วย รดน้ำต้นกล้าทุกเช้าเย็น อายุต้นกล้าที่เหมาะสม 10-12 วัน มีใบจริง 2-4 ใบ ก็สามารถย้ายลงปลูกในแปลงได้
การเตรียมแปลงปลูกแคตาลูปไถดินตากไว้ 1-2 อาทิตย์ จากนั้นไถพรวนให้ละเอียดทำการยกร่องแปลง โดยใช้ปุ๋ยคอก (ขี้ไก่ 800-1,000 กก./ไร่) ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ฟูราดาน 2-3 กก./ไร่ ถ้าสภาพดินที่มี pH ต่ำ ควรใช้ปูนขาวอัตรา 100-200 กก./ไร่ การเตรียมแปลงถ้าเป็นแบบขึ้นค้างให้ห่างกัน 1.2-1.5 เมตร ความกว้างของร่องน้ำ 60-70 ซม. หลังแปลงกว้าง 80-90 ซม. ใช้พลาสติกคลุม(พลาสติก 2 สี สีบรอนซ์และสีดำ) แล้วทำการเจาะหลุมปลูกห่างกัน 40-45 ซม.

มะละกอ


หน้าแรกผักตระกูล มะละกอ, ผักสวนครัว › มะละกอ (Papaya)
มะละกอ (Papaya)
ลิงก์ผู้สนับสนุน
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);

มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก
การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ
โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้
การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ
มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด
การดูแลรักษามะละกอ
การใ้ห้ปุ๋ย- ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน- ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด
การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน

แห้ว

แห้ว หรือแห้วจีน มาชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เอลิโอชาริสดัลซิส ทริน (Eleocharisdulcis Trin.) มีชื่ออื่นอีก ได้แก่ อี ทูเบอโซา ชุลท์ (E. tuberosa Schult.) หรือ ซีปุส ทูเบอโรซัส รอกซ์บ (Scirpus tuberosus Roxb.) อยู่ในตระกูลไซเปอราซี (Cyperaceae) เป็นกกชนิดหนึ่งคล้ายกับหญ้าทรงกระเทียม แต่เป็นคนละชนิด (speice) กัน แห้วเป็นพืชปีเดียว ลำต้นแข็ง อวบ ลำต้นกลวง ตั้งตรง มีความสูง ๑-๑.๕ เมตร ดอกเกิดที่ยอดของลำต้น ดอกตัวเมียเกิดเมื่อต้นสูง ๑๕ เซนติเมตร เหนือน้ำแล้วจึงเกิดดอกตัวผู้ตามมา เมล็ดมีขนาดเล็ก รากหรือหัวเป็นพวกไรโซม หรือ คอร์ม (rhizomes or corms) มี ๒ ประเภท หัวประเภทแรกเกิดเมื่อต้น แห้ว อายุ ๖-๘ สัปดาห์ ทำให้เกิดต้นแห้วขยายเพิ่มขึ้น หัวประเภทที่สองเกิดหลังจากแห้วออกดอกเล็กน้อยโดยทำมุม ๔๕ องศา กับ ระดับ ดิน หัวแห้วระยะเริ่มแรกเป็นสีขาว ต่อมาเกิดเป็นเกล็ดหุ้มสีน้ำตาลไหม้จนกระทั่งแก่หัวมีขนาดแตกต่างกัน ขนาดที่ส่งตลาด ๒-๓.๕ ซม. ต้นหนึ่ง ๆ แตกหน่อออกไปมากและได้หัวประมาณ ๗-๑๐ หัว มีการปลูกแห้วมากแถว สองฝั่ง แม่น้ำท่าจีน เขตอำเภอเมือง อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากแห้วซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ อี ดัลซิส (E. dulcis) แล้ว ยังมีแห้วซึ่งมีรูปร่างคล้าย ๆ กันนี้อีก ๒ ชนิด ชนิดแรกเป็นแห้วป่าขึ้นอยู่ในน้ำนิ่ง หัวเล็กมาก สีเข้มเกือบดำ บางทีเรียกว่า อี พลานทา จินี (E. plantaginea) หรือ อี พลานทาจิโนอิเดส (E. plantaginoides) อีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดที่ต้องปลูก แห้วชนิดนี้มีหัวใหญ่ มีรสหวาน เดิมที่เดียวจัดไว้ต่างชนิดออกไป คือ เรียกว่า อี ทูเบอโรซา (E. tuberosa) ปัจจุบันจัดเป็นชนิดเดียวกัน
ฤดูปลูก
แห้วเป็นพืชที่ขึ้นในน้ำ ขึ้นได้ดีในแหล่งที่มีการให้น้ำได้ตลอดปี ชอบอากาศอบอุ่นเกือบตลอดปี ในการงอกต้องการอุณหภูมิในดินประมาณ ๑๔-๑๔.๕ องศาเซลเซียส ฤดูปลูกที่เหมาะสมจึงควรเป็นต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอ เริ่มเพาะเดือนมีนาคม - เมษายน ย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้ในราวเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม ฤดูเดียวกับการทำนา
การเลือกและการเตรียมที่แห้วขึ้นได้ในดินเหนียวหรือดินร่วน pH ๖.๙-๗.๓ ขึ้นได้ในที่ราบ จนถึงที่สูงถึง ๑,๒๐๐ เมตร เตรียมดินโดยทำการไถ พรวนให้ดินร่วนดี กำจัดวัชพืชให้หมด เหมือนการเตรียมดินปลูกข้าว
วิธีปลูก
แห้ว ปลูกโดยใช้หัวเล็กๆ สามารถปลูกได้ ๒ วิธี วิธีหนึ่งเพาะหัวแห้วในแปลงเพาะเสียก่อนคล้ายปลูกหอม แต่ละหัวห่างกัน ๓-๔ ซม. ทำร่มรดน้ำ จนกระทั่งต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ในราว ๑๕-๒๐ วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงเพาะปลูกห่างกันราว ๙๐-๑๐๐ ซม. นานราว ๒ เดือน เมื่อแตกหน่อจึงใช้หน่อไปปลูกในแปลงใหญ่ โดยปักดำคล้ายดำนา วิธีนี้ปลูกในเนื้อที่ไม่มาก อีกวิธีหนึ่งปลูกหัวแห้วลงฝนแปลงใหญ่เลย ไม่ต้องเพาะก่อน ถ้าเนื้อที่ไม่มากใช้มือปลูก ปลูกลงในหลุมลึก ๑๐-๑๒ ซม. แต่ในเนื้อที่มาก ๆ เช่น ในต่างประเทศ ปลูกด้วยมือไม่ทันต้องใช้เครื่องปลูกโดยเปิดร่องเสียก่อนแล้วหยอดหัวแห้วลงในร่องให้ห่างกันตามที่ต้องการแล้วกลบ ระยะปลูกที่ใช้กันในสหรัฐอเมริกา ระยะระหว่างแถว ๗๕ ซม. ระหว่างหลุม ๗๕ ซม. ในประเทศจีนปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยม ระหว่างต้นห่างกัน ๔๕-๖๐ ซม. สำหรับกสิกรไทยใช้ระยะปลูกห่างกันประมาณ ๑๐๐ ซม.
การให้น้ำ
หลังจากปลูกแห้วแล้วทดน้ำเข้าให้ท่วมแปลงเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง แล้วปล่อยให้ระบายออกเมื่อต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ทดน้ำเข้าให้ระดับน้ำสูงประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. เมื่อต้นแห้วสูงขึ้นเพิ่มน้ำขึ้นเรื่อย ๆ จนแห้วสูงประมาณ ๕๐-๖๐ ซม. ให้น้ำ ๒๕-๓๐ ซม. จนตลอดฤดูปลูก
การกำจัดวัชพืช
ถ้าได้เตรียมดินและกำจัดวัชพืชอย่างดีแล้วก่อนปลูกแห้วเกือบจะไม่ต้องกำจัดวัชพืช ในต่างประเทศใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช เช่น ๒,๔-D กสิกรไทยยังไม่มีการใช้สารเคมีดังกล่าว จะกำจัดด้วยแรงงานหรือไม่กำจัดเลย
การใส่ปุ๋ย
การปลูกแห้วในต่างประเทศ ใส่ปุ๋ยผสมเกรดสูง ๆ ในอัตรา ๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ครึ่งหนึ่งใส่ก่อนปลูก อีกครึ่งหนึ่งหลังปลูก ๘-๑๐ สัปดาห์ วิธีใส่ปุ๋ยครั้งนี้ ใช้วิธีหว่านเหมือนใส่ปุ๋ยในนาข้าว ถ้าปล่อยน้ำให้แห้งก่อนได้ก็ดี หว่านปุ๋ยแล้วปล่อยน้ำเข้า
โรคและแมลง
โรคและแมลงที่ร้ายแรงสำหรับแห้วไม่มี แมลงที่พบเสมอ ได้แก่ ตั๊กแตน เพลี้ยไฟ ถ้าปลูกในดินที่เป็นกรดคือ pH ๕.๕ มักเกิดโรคซึ่งเกิดจากเชื้อรา ศัตรูที่พบนอกจากโรคแมลงได้แก่ ปู และปลากัด กินต้นอ่อน
การเก็บหัวและรักษา
แห้ว มีอายุประมาณ ๗-๘ เดือน เมื่อแห้วเริ่มแก่ คือ ใบเหี่ยวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาล ผิวนอกของหัวเป็นสีน้ำตาลไหม้ แสดงว่าเริ่มทำการเก็บได้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ระยะเดียวกันกับเก็บเกี่ยวข้าว เก็บแห้วโดยปล่อยน้ำออกก่อนถึงเวลาเก็บ ๓-๔ สัปดาห์เพื่อให้ดินแห้ง เก็บโดยขุดแล้วล้างหัว ผึ่งให้แห้ง ถ้าปลูกมากอาจเก็บ
Tags: , , ,

แครอท


แครอท (Carrot)
แครอท อยู่ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) มีถิ่นกำเนิด อยู่แถบเอเชียกลาง จนถึงทางตะวันออก ต่อมาได้เผยแพร่เข้าไปใน ยุโรป และประเทศจีน แครอทเป็นพืชสองฤดู โดยฤดูแรกเจริญทางต้น ใบ และราก ฤดูที่สองจะเจริญทางดอก และเมล็ด ลักษณะลำต้นเป็นแผ่นใบ จะเจริญจากลำต้น เป็นกลุ่มมีก้านใบยาว ประกอบด้วย เปลือกบาง(Periderm) และส่วนของเนื้อ(Cortex) ซึ่งประกอบด้วยท่ออาหาร และเป็นแหล่งเก็บ อาหารสำรอง

ถั่วแขก


ถั่วแขก (Bush Bean)
ถั่วแขก เป็นพืช ตระกูลถั่ว (Leguminosae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus vulgaris L. ถั่วแขกมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของเม็กซิโก สามารถเจริญเติบโต ได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น ถั่วแขกเป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านน้อย มีการเจริญเติบโตหลายลักษณะ เช่น เป็นพุ่ม กิ่งเลื้อย หรือเลื้อย ใบเป็นแบบสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ สามารถเจริญเติบโต ได้ทุกช่วงแสง ถั่วแขกเป็นพืชผสมตัวเอง

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง มีวิธีการปลูกง่าย ๆ ถ้าเป็นผักบุ้งจีน เอาเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง จีนมาแช่น้ำเอาไว้ เอาผ้าห่อเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ งชุบน้ำให้เปียกชุ่ม โดยตลอด
ซัก 1 คืนหรือ 2 คืนก็ได้ ต่อจากนั้นก็เอาไปหว่านในแปลงที่ขุด พรวนดินเอาไว้ ผสมกับปุ๋ยคอกพอสมควร หว่านเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งให้ทั่วกัน อย่าให้หนาเกินไป หว่านพอห่างๆ เอาฟางแห้งว่างลงไปทับเอาไว้บนดิน ให้คลุมบางๆเพื่อป้องกันไม่ให้ความชุ่มชื้นระเหยออกไปเร็วนัก รดน้ำให้ชุ่มพอสมควร รดน้ำเช้าเย็น รอเวลาไม่กี่วันก็จะเห็นว่ามีผักบุ้งออกมาให้เห็นแล้ว
การบำรุงรักษายังคงรดน้ำทุกวัน เช้า เย็น พอเห็นว่าต้นโตพอที่จะเก็บก็เอามีดมาตัดที่โคนต้น แต่ว่าการที่เราตัดโคนเอาเฉพาะต้นผักบุ้งมานั้น ยังทำให้ต้นผักบุ้งแตกยอดออกมาได้อีกด้วย สามารถที่จะเก็บได้หลายๆครั้งด้วยกัน
ถ้าเป็นผักบุ้งไทย เอาต้นผักบุ้งไทยมาปลูกลงในดิน แล้วรดน้ำก็ได้ ผักบุ้งจะเจริญงอกงามได้ดีไม่ต้องเพาะเมล็ดเหมือนผักบุ้งจีน แต่จะต้องรดน้ำเช้าเย็นด้วย ผักบุ้งชอบน้ำอยู่แล้ว ขอให้มีน้ำรดให้ชุ่มก็เจริญงอกงามได้ดีเสมอ และถ้าจะให้ดีก็จะต้องให้อาหารหรือปุ๋ยคอกพอสมควรกรณีที่มีบ่อน้ำ คูน้ำ ท้องร่องหรือสระน้ำ เอาผักบุ้งไทยมาปลูกไว้ริมน้ำก็ได้เห็นอย่างนี้แล้วคงไม่ต้องสงสัยนะครับว่าทำไมผักชนิดนี้ถึงได้อยู่คู่ครัวไทยมานาน