วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แคนตาลูป

แคนตาลูป เป็นพืชที่ชอบ อากาศอบอุ่นถึงร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับ การงอกของราก แคนตาลูป อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของ อุณหภูมิระหว่าง กลางวันกับกลางคืน มีอิทธิพลต่อ ความหวาน และคุณภาพของ แคนตาลูป ถ้าความแตกต่าง ยิ่งมากจะทำ ให้ความหวาน และคุณภาพยิ่งสูง แต่สภาพที่หนาวเย็น จะทำให้ผลแคนตาลูปไม่โต การเจริญเติบโตจะชะงัก แคนตาลูปเป็นพืชที่ ชอบแสงแดด ตลอดวัน ฉะนั้นในการเลือกพื้นที่ ปลูกควรเป็นพื้น ที่โล่งแจ้ง และไม่เคยปลูกพืช ตระกูลแตงมาก่อน ควรเป็นดินร่วน ปนทรายระบายน้ำ ได้ดี มีความเป็น กรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 6.0-6.8
การเตรียมเมล็ดพันธุ์และการหยอดเมล็ดแคนตาลูปพื้นที่ปลูก 1 ไร่ เตรียมเมล็ดพันธุ์อัตรา 0-100 กรัมนำเมล็ดเมล็ดพันธุ์บรรจุลงในถุงพลาสติก หรือถุงซิบที่เจาะรูพรุน หรือถุงเน็ต ลงแช่ในน้ำสะอาดนาน 4-6 ชม. จากนั้นนำเมล็ดออกมาสลัดน้ำทิ้งใช้ผัาขนหนูที่เปียกพอหมาดๆ ห่อ และนำไปบ่มในอุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส โดยใช้หลอดไฟขนาด 40-60 W. บ่มนาน 24 ชม. เมล็ดแคนตาลูปจะเริ่มงอกรากยาวประมาณ 0.5 ชม. ก็สามารถนำไปหยอด ลงในถุงดินหรือถาดเพาะกล้าต่อไปการเตรียมถุงดินสำหรับเพาะเมล็ด ใช้ดินร่วน 2-3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ ปุ๋ย 0-46-0 กำมือ ผสมให้เข้ากัน กรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×4 นิ้ว หรือ 4×6 นิ้ว โดยเจาะรูที่ก้นถุงทั้ง 2 ข้าง เพื่อระบายน้ำ และนำถุงดินไปวางเรียงในแปลงเพาะ ขนาดกว้าง 1.0-1.5 เมตร โดยวางเรียงประมาณ 12-15 ถุงต่อแถว จากนั้นรดน้ำถุงดินให้ชุ่ม นำเมล็ดที่งอกราก แล้วหยอดลงไปถุงละ 1 เมล็ด หลังหยอด 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มชูใบเลี้ยงขึ้นมา ช่วยแกะเอาเปลือกของเมล็ดออกด้วย รดน้ำต้นกล้าทุกเช้าเย็น อายุต้นกล้าที่เหมาะสม 10-12 วัน มีใบจริง 2-4 ใบ ก็สามารถย้ายลงปลูกในแปลงได้
การเตรียมแปลงปลูกแคตาลูปไถดินตากไว้ 1-2 อาทิตย์ จากนั้นไถพรวนให้ละเอียดทำการยกร่องแปลง โดยใช้ปุ๋ยคอก (ขี้ไก่ 800-1,000 กก./ไร่) ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ฟูราดาน 2-3 กก./ไร่ ถ้าสภาพดินที่มี pH ต่ำ ควรใช้ปูนขาวอัตรา 100-200 กก./ไร่ การเตรียมแปลงถ้าเป็นแบบขึ้นค้างให้ห่างกัน 1.2-1.5 เมตร ความกว้างของร่องน้ำ 60-70 ซม. หลังแปลงกว้าง 80-90 ซม. ใช้พลาสติกคลุม(พลาสติก 2 สี สีบรอนซ์และสีดำ) แล้วทำการเจาะหลุมปลูกห่างกัน 40-45 ซม.

มะละกอ


หน้าแรกผักตระกูล มะละกอ, ผักสวนครัว › มะละกอ (Papaya)
มะละกอ (Papaya)
ลิงก์ผู้สนับสนุน
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);

มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก
การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ
โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้
การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ
มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด
การดูแลรักษามะละกอ
การใ้ห้ปุ๋ย- ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน- ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด
การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน

แห้ว

แห้ว หรือแห้วจีน มาชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เอลิโอชาริสดัลซิส ทริน (Eleocharisdulcis Trin.) มีชื่ออื่นอีก ได้แก่ อี ทูเบอโซา ชุลท์ (E. tuberosa Schult.) หรือ ซีปุส ทูเบอโรซัส รอกซ์บ (Scirpus tuberosus Roxb.) อยู่ในตระกูลไซเปอราซี (Cyperaceae) เป็นกกชนิดหนึ่งคล้ายกับหญ้าทรงกระเทียม แต่เป็นคนละชนิด (speice) กัน แห้วเป็นพืชปีเดียว ลำต้นแข็ง อวบ ลำต้นกลวง ตั้งตรง มีความสูง ๑-๑.๕ เมตร ดอกเกิดที่ยอดของลำต้น ดอกตัวเมียเกิดเมื่อต้นสูง ๑๕ เซนติเมตร เหนือน้ำแล้วจึงเกิดดอกตัวผู้ตามมา เมล็ดมีขนาดเล็ก รากหรือหัวเป็นพวกไรโซม หรือ คอร์ม (rhizomes or corms) มี ๒ ประเภท หัวประเภทแรกเกิดเมื่อต้น แห้ว อายุ ๖-๘ สัปดาห์ ทำให้เกิดต้นแห้วขยายเพิ่มขึ้น หัวประเภทที่สองเกิดหลังจากแห้วออกดอกเล็กน้อยโดยทำมุม ๔๕ องศา กับ ระดับ ดิน หัวแห้วระยะเริ่มแรกเป็นสีขาว ต่อมาเกิดเป็นเกล็ดหุ้มสีน้ำตาลไหม้จนกระทั่งแก่หัวมีขนาดแตกต่างกัน ขนาดที่ส่งตลาด ๒-๓.๕ ซม. ต้นหนึ่ง ๆ แตกหน่อออกไปมากและได้หัวประมาณ ๗-๑๐ หัว มีการปลูกแห้วมากแถว สองฝั่ง แม่น้ำท่าจีน เขตอำเภอเมือง อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากแห้วซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ อี ดัลซิส (E. dulcis) แล้ว ยังมีแห้วซึ่งมีรูปร่างคล้าย ๆ กันนี้อีก ๒ ชนิด ชนิดแรกเป็นแห้วป่าขึ้นอยู่ในน้ำนิ่ง หัวเล็กมาก สีเข้มเกือบดำ บางทีเรียกว่า อี พลานทา จินี (E. plantaginea) หรือ อี พลานทาจิโนอิเดส (E. plantaginoides) อีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดที่ต้องปลูก แห้วชนิดนี้มีหัวใหญ่ มีรสหวาน เดิมที่เดียวจัดไว้ต่างชนิดออกไป คือ เรียกว่า อี ทูเบอโรซา (E. tuberosa) ปัจจุบันจัดเป็นชนิดเดียวกัน
ฤดูปลูก
แห้วเป็นพืชที่ขึ้นในน้ำ ขึ้นได้ดีในแหล่งที่มีการให้น้ำได้ตลอดปี ชอบอากาศอบอุ่นเกือบตลอดปี ในการงอกต้องการอุณหภูมิในดินประมาณ ๑๔-๑๔.๕ องศาเซลเซียส ฤดูปลูกที่เหมาะสมจึงควรเป็นต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอ เริ่มเพาะเดือนมีนาคม - เมษายน ย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้ในราวเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม ฤดูเดียวกับการทำนา
การเลือกและการเตรียมที่แห้วขึ้นได้ในดินเหนียวหรือดินร่วน pH ๖.๙-๗.๓ ขึ้นได้ในที่ราบ จนถึงที่สูงถึง ๑,๒๐๐ เมตร เตรียมดินโดยทำการไถ พรวนให้ดินร่วนดี กำจัดวัชพืชให้หมด เหมือนการเตรียมดินปลูกข้าว
วิธีปลูก
แห้ว ปลูกโดยใช้หัวเล็กๆ สามารถปลูกได้ ๒ วิธี วิธีหนึ่งเพาะหัวแห้วในแปลงเพาะเสียก่อนคล้ายปลูกหอม แต่ละหัวห่างกัน ๓-๔ ซม. ทำร่มรดน้ำ จนกระทั่งต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ในราว ๑๕-๒๐ วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงเพาะปลูกห่างกันราว ๙๐-๑๐๐ ซม. นานราว ๒ เดือน เมื่อแตกหน่อจึงใช้หน่อไปปลูกในแปลงใหญ่ โดยปักดำคล้ายดำนา วิธีนี้ปลูกในเนื้อที่ไม่มาก อีกวิธีหนึ่งปลูกหัวแห้วลงฝนแปลงใหญ่เลย ไม่ต้องเพาะก่อน ถ้าเนื้อที่ไม่มากใช้มือปลูก ปลูกลงในหลุมลึก ๑๐-๑๒ ซม. แต่ในเนื้อที่มาก ๆ เช่น ในต่างประเทศ ปลูกด้วยมือไม่ทันต้องใช้เครื่องปลูกโดยเปิดร่องเสียก่อนแล้วหยอดหัวแห้วลงในร่องให้ห่างกันตามที่ต้องการแล้วกลบ ระยะปลูกที่ใช้กันในสหรัฐอเมริกา ระยะระหว่างแถว ๗๕ ซม. ระหว่างหลุม ๗๕ ซม. ในประเทศจีนปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยม ระหว่างต้นห่างกัน ๔๕-๖๐ ซม. สำหรับกสิกรไทยใช้ระยะปลูกห่างกันประมาณ ๑๐๐ ซม.
การให้น้ำ
หลังจากปลูกแห้วแล้วทดน้ำเข้าให้ท่วมแปลงเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง แล้วปล่อยให้ระบายออกเมื่อต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ทดน้ำเข้าให้ระดับน้ำสูงประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. เมื่อต้นแห้วสูงขึ้นเพิ่มน้ำขึ้นเรื่อย ๆ จนแห้วสูงประมาณ ๕๐-๖๐ ซม. ให้น้ำ ๒๕-๓๐ ซม. จนตลอดฤดูปลูก
การกำจัดวัชพืช
ถ้าได้เตรียมดินและกำจัดวัชพืชอย่างดีแล้วก่อนปลูกแห้วเกือบจะไม่ต้องกำจัดวัชพืช ในต่างประเทศใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช เช่น ๒,๔-D กสิกรไทยยังไม่มีการใช้สารเคมีดังกล่าว จะกำจัดด้วยแรงงานหรือไม่กำจัดเลย
การใส่ปุ๋ย
การปลูกแห้วในต่างประเทศ ใส่ปุ๋ยผสมเกรดสูง ๆ ในอัตรา ๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ครึ่งหนึ่งใส่ก่อนปลูก อีกครึ่งหนึ่งหลังปลูก ๘-๑๐ สัปดาห์ วิธีใส่ปุ๋ยครั้งนี้ ใช้วิธีหว่านเหมือนใส่ปุ๋ยในนาข้าว ถ้าปล่อยน้ำให้แห้งก่อนได้ก็ดี หว่านปุ๋ยแล้วปล่อยน้ำเข้า
โรคและแมลง
โรคและแมลงที่ร้ายแรงสำหรับแห้วไม่มี แมลงที่พบเสมอ ได้แก่ ตั๊กแตน เพลี้ยไฟ ถ้าปลูกในดินที่เป็นกรดคือ pH ๕.๕ มักเกิดโรคซึ่งเกิดจากเชื้อรา ศัตรูที่พบนอกจากโรคแมลงได้แก่ ปู และปลากัด กินต้นอ่อน
การเก็บหัวและรักษา
แห้ว มีอายุประมาณ ๗-๘ เดือน เมื่อแห้วเริ่มแก่ คือ ใบเหี่ยวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาล ผิวนอกของหัวเป็นสีน้ำตาลไหม้ แสดงว่าเริ่มทำการเก็บได้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ระยะเดียวกันกับเก็บเกี่ยวข้าว เก็บแห้วโดยปล่อยน้ำออกก่อนถึงเวลาเก็บ ๓-๔ สัปดาห์เพื่อให้ดินแห้ง เก็บโดยขุดแล้วล้างหัว ผึ่งให้แห้ง ถ้าปลูกมากอาจเก็บ
Tags: , , ,

แครอท


แครอท (Carrot)
แครอท อยู่ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) มีถิ่นกำเนิด อยู่แถบเอเชียกลาง จนถึงทางตะวันออก ต่อมาได้เผยแพร่เข้าไปใน ยุโรป และประเทศจีน แครอทเป็นพืชสองฤดู โดยฤดูแรกเจริญทางต้น ใบ และราก ฤดูที่สองจะเจริญทางดอก และเมล็ด ลักษณะลำต้นเป็นแผ่นใบ จะเจริญจากลำต้น เป็นกลุ่มมีก้านใบยาว ประกอบด้วย เปลือกบาง(Periderm) และส่วนของเนื้อ(Cortex) ซึ่งประกอบด้วยท่ออาหาร และเป็นแหล่งเก็บ อาหารสำรอง

ถั่วแขก


ถั่วแขก (Bush Bean)
ถั่วแขก เป็นพืช ตระกูลถั่ว (Leguminosae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus vulgaris L. ถั่วแขกมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของเม็กซิโก สามารถเจริญเติบโต ได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น ถั่วแขกเป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านน้อย มีการเจริญเติบโตหลายลักษณะ เช่น เป็นพุ่ม กิ่งเลื้อย หรือเลื้อย ใบเป็นแบบสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ สามารถเจริญเติบโต ได้ทุกช่วงแสง ถั่วแขกเป็นพืชผสมตัวเอง

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง มีวิธีการปลูกง่าย ๆ ถ้าเป็นผักบุ้งจีน เอาเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง จีนมาแช่น้ำเอาไว้ เอาผ้าห่อเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ งชุบน้ำให้เปียกชุ่ม โดยตลอด
ซัก 1 คืนหรือ 2 คืนก็ได้ ต่อจากนั้นก็เอาไปหว่านในแปลงที่ขุด พรวนดินเอาไว้ ผสมกับปุ๋ยคอกพอสมควร หว่านเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งให้ทั่วกัน อย่าให้หนาเกินไป หว่านพอห่างๆ เอาฟางแห้งว่างลงไปทับเอาไว้บนดิน ให้คลุมบางๆเพื่อป้องกันไม่ให้ความชุ่มชื้นระเหยออกไปเร็วนัก รดน้ำให้ชุ่มพอสมควร รดน้ำเช้าเย็น รอเวลาไม่กี่วันก็จะเห็นว่ามีผักบุ้งออกมาให้เห็นแล้ว
การบำรุงรักษายังคงรดน้ำทุกวัน เช้า เย็น พอเห็นว่าต้นโตพอที่จะเก็บก็เอามีดมาตัดที่โคนต้น แต่ว่าการที่เราตัดโคนเอาเฉพาะต้นผักบุ้งมานั้น ยังทำให้ต้นผักบุ้งแตกยอดออกมาได้อีกด้วย สามารถที่จะเก็บได้หลายๆครั้งด้วยกัน
ถ้าเป็นผักบุ้งไทย เอาต้นผักบุ้งไทยมาปลูกลงในดิน แล้วรดน้ำก็ได้ ผักบุ้งจะเจริญงอกงามได้ดีไม่ต้องเพาะเมล็ดเหมือนผักบุ้งจีน แต่จะต้องรดน้ำเช้าเย็นด้วย ผักบุ้งชอบน้ำอยู่แล้ว ขอให้มีน้ำรดให้ชุ่มก็เจริญงอกงามได้ดีเสมอ และถ้าจะให้ดีก็จะต้องให้อาหารหรือปุ๋ยคอกพอสมควรกรณีที่มีบ่อน้ำ คูน้ำ ท้องร่องหรือสระน้ำ เอาผักบุ้งไทยมาปลูกไว้ริมน้ำก็ได้เห็นอย่างนี้แล้วคงไม่ต้องสงสัยนะครับว่าทำไมผักชนิดนี้ถึงได้อยู่คู่ครัวไทยมานาน

นิทานอีสป

นิทานอีสป
Navigator : นิทานอีสป | นิยาย | คลิปวีดีโอ | ฝึกสติ
ฟังเสียงนิทานประกอบเพลงสนุก ๆ แฝงคติ คลิกที่นี่
ใครหนอ...สร้างนิทานอีสป
นิทานที่ได้รับความนิยมและเชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากที่สุดรวมถึงในประเทศไทยด้วย คงหนีไม่พ้นนิทานอีสป ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องราวสนุกสนานแล้วด้านหลังเล่มยังมีคติสอนใจจากเนื้อเรื่อง ด้วยคำว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...
หลายคนนึกสงสัยว่า ใครหนอ ช่างคิดเรื่องราวที่สนุกและแฝงแง่คิดที่ใช้ได้ไม่ล้าสมัยน้า...
วันนี้มีคำตอบมาเฉลยให้หายสงสัย
"นิทานอีสป" มีต้นกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรกรีกโบราณ ซึ่งเจ้าของเรื่องเล่าอันสุดแสนสนุกไม่ใช่นักปราชญ์แต่เป็นทาสที่ไร้การศึกษาแต่เปี่ยมไปด้วยเชาวน์ปัญญาต่างหาก!!!
และชื่อของเขาคือ อีสป ซึ่งเป็นที่มาของชื่อนิทานอีสปนั่นเอง
อีสปเป็นชายผิวสีชาวแอฟริกาที่มีชีวิตอยู่ในนครรัฐกรีกและต้องการทำมาหากินโดยการขายตัวเป็นทาส แต่โชคร้ายที่รูปร่างหน้าตาของเขาไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานที่พิจารณาคนที่มีความสามารถด้านการต่อสู้เป็นหลัก แต่พระเจ้ากลับประทานมันสมองอันเลอเลิศให้แก่อีสปเป็นการตอบแทน เขาจึงหันมาใช้สติปัญญาในการหาเลี้ยงชีพแทนการใช้กำลัง
สุดท้ายแล้วอีสปก็สามารถเอาชนะใจคนกรีกได้ ด้วยการเล่าเรื่องธรรมดาๆ แต่สอดแทรกด้วยปรัชญา แง่คิด และคติสอนใจต่างๆ ซึ่งเมื่อใครได้ฟังก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ อีกทั้งยังนำคติสอนใจที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันของตัวเองได้ด้วย
ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของเรื่องราวจากอีสปก็คือ เขาจะใช้ตัวละครที่เป็นสิงสาราสัตว์ทั่วไป เช่น "หมาป่ากับลูกแกะ, สุนัขกับเงา, ราชสีห์กับหนู" หรือ "สุนัขจิ้งจอกกับกา" เป็นต้น
ความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในตำราหรือในระบบการศึกษาเท่านั้น หากเรารู้จักค้นคว้าหาความรู้รอบตัวก็จะเป็นคนฉลาดแบบอีสปได้เหมือนกันนะ

ขนมไทย

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้วเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง
ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต[1]
[แก้] การแบ่งประเภทของขนมไทย
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้ [2]
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม
[แก้] วัตถุดิบในการปรุงขนมไทย
ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ซึ่งจะกว่างถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
[แก้] ข้าวและแป้ง
การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำข้าวยาคู พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่า ข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได่อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ กระยาสารท ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน นำไปทำขนมไข่มด ขนมไข่จิ้งหรีด ข้าวตูได้อีก[3] ส่วนแป้งที่ใช้ทำขนมไทยส่วนใหญ่ได้มาจากข้าวคือแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว ในสมัยก่อนใช้แป้งสดคือแป้งที่ได้จากการนำเม็ดข้าวแช่น้ำแล้วโม่ให้ละเอียด ในปัจจุบันใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน นอกจากนี้ แป้งที่ใช้ได้แก่ แป้งถั่ว แป้งท้าวยายม่อม แป้งมันสำปะหลัง ส่วนแป้งสาลีมีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ[4]
[แก้] มะพร้าวและกะทิ
มะพร้าวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้ [4]
มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน
มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้คลุกกับข้าวต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนมหลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของขนมไทย[5]
มะพร้าวแก่ นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม เช่นกล้วยบวชชี แกงบวดต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย
[แก้] น้ำตาล
แต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใชทำขนมคือน้ำคาลจากตาลหรือมะพร้าว ในบางท้องที่ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายถูกนำมาใช้ภายหลัง
[แก้] ไข่
เริมเป็นส่วนผสมของขนมไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งได้รับอิทธิพลจากขนมของโปรตุเกส ไข่ที่ใช้ทำขนมนี้จะตีให้ขึ้นฟู ก่อนนำไปผสม ขนมบางชนิดเช่น ต้องแยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ไข่แดงไปทำขนม [4]
[แก้] ถั่วและงา
ถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทย การใช้ถั่วเขียวนึ่งละเอียดมาทำขนมพบไดตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นขนมภิมถั่วทำด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์[6] ถั่วและงาที่นิยมใช้ในขนมไทยมีดังนี้[7]
ถั่วเขียวเราะเปลือก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก ถั่วเขียวที่ใช้ต้องล้งและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง
ถั่วดำ ใช้ใส่ในขนมไทยไม่กี่ชนิด และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้มหมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ
ถั่วลิสง ใช้น้อย ส่วนใหญ่ใช้โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ในขนมจ่ามงกุฏ ใส่ในรูปที่คั่วสุกแล้ว
งาขาวและงาดำ ใส่เป็นส่วนผสมสำคัญในขนมบางชนิดเช่น ขนมเทียนสลัดงา ขนมแดกงา
[แก้] กล้วย
กล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง กล้วยไข่ให้สีเหลือง เป็นต้น[8]
[แก้] สี
สีที่ได้จากธรรมชาติและใช้ในขนมไทย มีดังนี้ [4]
สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ
สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ในน้ำเดือด ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
สีเหลืองจากขมิ้นหรือหญ้าฝรั่น
สีแดงจากครั่ง
สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง
[แก้] กลิ่นหอม
กลิ่นหอมที่ใช้ในขนมไทยได้แก่ [4]
กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลงในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ในน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม
กลิ่นดอกกระดังงา นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดังงามาลนเทียนอบให้หอม ใส่ขวดโหลที่ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท
กลิ่นเทียนอบ จุดไฟที่ปลายเทียนอบทั้งสองข้างให้ลุกสักครู่หนึ่งแล้วดับไฟ วางลงในถ้วยตะไล ใส่ในขวดโหลที่ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท
กลิ่นใบเตย หั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาว ใส่ลงไปในขนม
[แก้] ขนมไทยแต่ละภาค
[แก้] ขนมไทยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือยทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม[9]
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด[10]
[แก้] ขนมไทยภาคกลาง
ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูล และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ เป็นต้น
[แก้] ขนมไทยภาคอีสาน
เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง [11]นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)[12]
[แก้] ขนมไทยภาคใต้
ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ [13]
ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
[แก้] ขนมในพิธีกรรมและงานเทศกาล
ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปีสรุปได้ดังนี้
[แก้] ขนมไทยในงานเทศกาล
งานตรุษสงกรานต์ ที่พระประแดง และราชบุรี ใช้กะละแมเป็นขนมประงานตรุษ[14] [15]
สารทไทย เดือน 10 ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ใช้กระยาสารทเป็นขนมหลัก นอกจากนั้น อาจมี ข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์ ส่วนทางภาคใต้ จะมี ขนมสารทเดือนสิบ โดยใช้ขนมลา ขนมพอง ขนมท่อนใต้ ขนมบ้า ขนมเจาะหูหรือขนมดีซำ ขนมต้ม (ข้าวเหนียวใส่กะทิห่อใบกะพ้อต้ม ต่างจากขนมต้มของภาคกลาง) ยาสาด (กระยาสารท) ยาหนม (กะละแม)[14] โดยขนมแต่ละชนิดที่ใช้มีความหมายคือ ขนมพอง เป็นแพพาข้ามห้วงมหรรณพ ขนมกงหรือขนมไข่ปลา เป็นเครื่องประดับ ขนมดีซำเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า ใช้เป็นลูกสะบ้า ขนมลาเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณ [16]
เทศกาลออกพรรษา การตักบาตรเทโว เดือน 11 นิยมทำข้าวต้มผัดห่อด้วยใบตองหรือใบอ้อย ธรรมเนียมนี้มาจากความเชื่อทางศาสนาที่ว่า เมื่อประชาชนไปรอรับเสด็จพระพุทธเจ้าเมื่อทรงพุทธดำเนินจากเทวโลกกลับสู่โลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสะ ชาวเมืองที่ไปรอรับเสด็จได้นำข้าวต้มผัดไปเป็นเสบียงระหว่างรอ[14] บางท้องที่มีการทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรด้วยเช่น ชาวไทยเชื้อสายมอญที่จังหวัดราชบุรี [15]
ในช่วงออกพรรษา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีลากพระและตักบาตรหน้าล้อ ซึ่งจะใช้ขนมสองชนิดคือ ห่อต้ม (ข้าวเหนียวผัดกะทิห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบพ้อ) และห่อมัด (เหมือนห่อต้มแต่ห่อด้วยใบจากหรือใบมะพร้าวอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้เชือกมัด)[17]
ในช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานขนมอาเก๊าะ[18]
เดือนอ้าย มีพระราชพิธีเลี้ยงขนมเบื้อง เมื่อพระอาทิตย์โคจรเข้าราศีธนู นิมนต์พระสงฆ์ 80 รูป มาฉันขนมเบื้องในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[19]
เดือนอ้ายในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีให้ทานไฟ โดยชาวบ้านจะก่อไฟและเชิญพระสงฆ์มาผิงไฟ ขนมที่ใช้ในงานนี้มี ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมกรอก ขนมจูจุน กล้วยแขก ข้าวเหนียวกวน ขนมกรุบ ข้าวเกรียบปากหม้อ )[17]
เดือนสาม ทางภาคอีสานมีประเพณีบุญข้าวจี่ ซึ่งจะทำข้าวจี่ไปทำบุญที่วัด[20]
ชาวไทยมุสลิมมีประเพณีกวนขนมอาซูรอในวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม[13]
[แก้] ขนมไทยในพิธีกรรมและความเชื่อ
การสะเดาะเคราะห์และแก้บนของศิลปินวายัง-มะโย่งของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ใช้ข้าวเหนียวสามสี (ขาว เหลือง แดง) ข้าวพอง (ฆีแน) ข้าวตอก (มือเตะ)รา (กาหงะ) และขนมเจาะหู[21]
ในพิธีเข้าสุหนัต< ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน นำเรือใหม่ลงน้ำ ชาวไทยมุสลิมนิยมทำขนมฆานม[21]
ขนมที่ใช้ในงานแต่งงาน ในภาคกลางนอกกรุงเทพฯออกไปจะมีขนมกงเป็นหลัก นอกจากนั้นมีทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก บางแห่งใช่ขนมพระพายและขนมละมุดก็มี ในบางท้องถิ่น ใช้ กะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมชั้น ขนมเปียก ขนมเปี๊ยะ ถ้าเป็นตอนเช้า ยังไม่ถึงเวลาอาหาร จะมีการเลี้ยงของว่างเรียก กินสามถ้วย ได้แก่ ข้าวเหนียวน้ำกะทิ ข้าวตอกนำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ บางแห่งใช้ มันน้ำกะทิ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ[22] บางท้องถิ่นใช้ขนมต้มด้วย[23]
พิธีแต่งงานของชาวไทยมุสลิม จะมีพิธีกินสมางัตซึ่งเป็นการป้อนข้าวและขนมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว ขนมที่ใช้มี กะละแมหรือขนมดอดอย ขนมก้อหรือตูปงปูตู ขนมลาและข้าวพอง[24]
ขนมที่ใช้ในงานบวชและงานทอดกฐินของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีได้แก่ ขนมปลาหางดอก และลอดช่องน้ำกะทิ[15]
ในงานศพ ชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีนิยมเลี้ยงเม็ดแมงลักน้ำกะทิ [15]
การบูชาเทวดาในพิธีกรรมใดๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เป็นหลักในเครื่องสังเวยชุดธรรมดา [25] ชุดใหญ่เพิ่ม ข้าวตอก งาคั่ว ถั่วทอง ฟักทองแกงบวด ในพิธีทำขวัญจุกใช้ขนมต้มขาวต้มแดงด้วยเช่นกัน [26] เครื่องกระยาบวชในการไหว้ครูเพื่อทำผงอิทธิเจ ใช้ขนมต้มแดงต้มขาวเช่นกัน[27]
พิธีเลี้ยงผีของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีใช้ ขนมบัวลอย ขนมทอด [15]
ขนมที่ใช้ในพิธีไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง ได้แก่ แกงบวด (กล้วย เผือกหรือมัน) เผือกต้ม มันต้ม ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมชั้น ถ้วยฟู ฝอยทอง เม็ดขนุน ทองหยอด[28]
ในการเล่นผีหิ้งของชาวชอง บนหิ้งมีขนมต้ม ขนมเทียนเป็นเครื่องเซ่นด้วย[29]
[แก้] ขนมที่มีชื่อเสียงเฉพาะถิ่น
จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขตธนบุรีมีขนมฝรั่งกุฎีจีน
จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด มีทุเรียนกวน
จังหวัดฉะเชิงเทรา มี ขนมชั้น
จังหวัดชลบุรี ตลาดหนองมน มี ข้าวหลาม
จังหวัดชุมพร มีขนมควายลุย
จังหวัดตรัง มี ขนมเค้กเมืองตรัง
จังหวัดนครปฐม มีขนมผิงและข้าวหลาม
จังหวัดนครสวรรค์ มี ขนมโมจิ ขนมฟักเขียวกวน
จังหวัดปราจีนบุรี มี ขนมเขียว
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นผลไม้เชื่อ ผลไม้กวน เช่น มะยมเชื่อ พุทรากวน ที่ ตำบลท่าเรือ มีขนมบ้าบิ่น
จังหวัดพัทลุง มี ขนมก้านบัว
จังหวัดพิษณุโลก อำเภอบางกระทุ่ม มีกล้วยตาก
จังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งที่มีขนมหวานที่มีชื่อเสียงมานาน โดยเฉพาะขนมที่ทำมาจากตาลโตนดเช่น จาวตาลเชื่อม โตนดทอด ตังเม ส่วนขนมชนิดอื่นที่มีชื่อเสียงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาคือ ขนมขี้หนู ข้าวเกรียบงา ขนมหม้อแกง[30]
ดูบทความหลักที่ ขนมเมืองเพชร
จังหวัดสตูล มี ขนมบุหงาบูดะ ขนมโรตีกาปาย และ ข้าวเหนียวกวนขาว
จังหวัดสมุทรปราการ มี ขนมจาก
จังหวัดสมุทรสาคร มีขนมจ่ามงกุฏ
จังหวัดสิงห์บุรี มีมะม่วงกวนหรือส้มลิ้ม
จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า มีขนมสาลี่
จังหวัดอ่างทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ มีขนมเกสรลำเจียก
จังหวัดอุทัยธานี หนองแก มี ขนมกง ขนมปังสังขยา
[แก้] ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น
ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทยๆ จนทำให้คนรุ่นหลังๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส

น้ำผลไม้ทิปโก้

. ทิปโก้เนเจอร์อัพ ขนาด 180 มล.ราคาลังละ 260 บาท (36 กล่อง)

- ข้าวโอ๊ตผสมมอลต์สกัด

- ข้าวโอ๊ตผสมมอลต์สกัด (สูตรไม่มีน้ำตาล0%)

- ธัญญาหาร (สูตรไม่มีน้ำตาล0%)

2. น้ำผลไม้ทิปโก้คูลฟิต40% ขนาด 1,000 มล.ราคาลังละ 360 บาท (12 กล่อง)

- น้ำส้ม

- น้ำแอปเปิ้ล

3. น้ำผลไม้ทิปโก้100% ขนาด 1,000 มล.ราคาลังละ 480 บาท (12 กล่อง)

- น้ำสับปะรด (ลังละ 420 บาท)

- น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์สูตรน้ำทับทิม

- น้ำแครรอทผสมน้ำผลไม้รวม

- น้ำว่านหางจระเข้ผสมน้ำองุ่นขาว

- น้ำส้มเขียวหวาน ราคา 460 บาท (ของยูนิฟ)

4. น้ำผลไม้ทิปโก้100% ขนาด 200 มล.ราคาลังละ 240 บาท (24 กล่อง)

- น้ำฝรั่ง

- น้ำส้มเขียวหวาน

- น้ำทับทิมผสมน้ำผลไม้รวม

- น้ำทับทิมผสมน้ำผลไม้รวม จูซ ลาเต้

5. น้ำผักทิปโก้100% ขนาด 110 มล.ราคาลังละ 320 บาท (48 กล่อง) สินค้าหมด

- น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม

6. น้ำผลไม้ทิปโก้ซุปเปอร์คิด100% ขนาด 110 มล.ราคาลังละ 240 บาท (36 กล่อง)

- น้ำแอปเปิ้ล

- น้ำส้มโชกุน

- น้ำองุ่น

7. ชาเขียวยูนิฟกรีนที ขนาด 250 มล.ราคาลังละ 260 บาท (36 กล่อง)

- ชาเขียวรสน้ำผึ้ง

- ชาเขียวรสน้ำผึ้งผสมมะนาว

- ชาเขียวรสต้นตำรับ

- ยูนิฟบาร์เลย์ รสชาดำผสมข้าวบาร์เลย์

หมายเหตุ : น้ำผลไม้ตราทิปโก้ เป็นสินค้าของแท้แน่นอนครับ (รับประกัน)

สินค้าหมดอายุเดือน 11 ปี 2553

เรามีบริการจัดส่งคิดค่าส่ง 50 บาท ขึ้นไปแล้วแต่ระยะทางครับ

Tel. 085-811-8738 (คุณต๊อบ)

E-Mail : patong_tong@hotmail.com

น้ำผลไม้ปั่น

ขาย “น้ำผลไม้ปั่น” อาชีพนี้ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่จะทำให้แปลกแหวกแนว ถูกใจวัยโจ๋ที่เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่นั้น ก็ต้องอินเทรนด์กันหน่อย และเพียงสูตรของเด็กมัธยมต้นที่บอกให้แม่ทำเพราะผลไม้ที่ขายเหลือ ก็กลายเป็นรายได้ที่ทำให้เจ้าตัวสนุกสนานกับการขายดีแบบเทน้ำเทท่า
ประภาศรี ปานกลิ่นพุฒ หรือ คุณตู่ ขาย “น้ำผลไม้ปั่น” มาได้ 6 เดือน อาชีพเดิมคือค้าขายผลไม้อย่างสตรอเบอรี่ ซึ่งเมื่อผลไม้เหลือขายคราวละ 40-50 กก. ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จนลูกสาวที่เรียนหนังสืออยู่ได้ช่วยคิดหาวิธีไม่ให้สูญเปล่า ด้วยสูตรเครื่องดื่มแนวที่วัยรุ่นกำลังชอบ กำลังฮิตจึงค่อย ๆ ทำขาย โดยสูตรทั้งหมดมาจากลูกสาว
สิ่งที่แปลกตาของร้านน้ำผลไม้ปั่นของคุณตู่คือ เมนูน้ำสตรอเบอรี่สารพัน และผลไม้สดนานาชนิดที่ถูกหั่นแบ่งเป็นชิ้น ๆ ใส่แก้วพลาสติกเตรียมไว้ และเรียงไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมกับเขียนป้ายบอกรายการให้ลูกค้าเห็นอย่างชัดเจน กับราคาน้ำผลไม้ปั่น 20 บาท ทุกรายการ
คุณตู่บอกว่า 20 บาท เป็นราคาที่กำลังดี ใคร ๆ บอกว่าที่อื่นขาย 25-30 บาท โดยเฉพาะเมนูน้ำผลไม้รวม ซึ่งถ้าเลือกระหว่างน้ำผลไม้ 25 บาท กับก๋วยเตี๋ยว 25 บาท คนส่วนใหญ่อาจเลือกซื้อก๋วยเตี๋ยวดีกว่า และถ้าตนเป็นลูกค้า ราคาแก้วละ 25 บาทตนก็ไม่ซื้อ เพราะแพงเกินไป เมนูเด็ดประจำร้านคุณตู่ คือ “น้ำสตรอเบอรี่ลอยแก้วปั่น”






วิธีทำ : เตรียมสตรอเบอรี่สด 10 กก. จากนั้นเตรียมน้ำเชื่อม โดยใช้น้ำ 15 ลิตร และน้ำตาลทราย 3-4 กก. ตั้งไฟให้ละลายเข้ากันดี เมื่อทำน้ำเชื่อมเสร็จแล้ว นำ สตรอเบอรี่สดใส่ลงไปในน้ำเชื่อม ถ้าจะให้รสชาติดีก็ทิ้งไว้ค้างคืน เพื่อให้รสของน้ำเชื่อมซึมเข้าไปในผลสตรอเบอรี่ หรือถ้าต้องการเร็วก็แช่ไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมงก็ได้
ตักสตรอเบอรี่ลอยแก้วใส่แก้วพลาสติกประมาณครึ่งแก้ว มีผลสตรอเบอรี่ประมาณ 8-9 ผล เรียงไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย คุณตู่ให้เหตุผลที่จะต้องเตรียมและเรียงเป็นแก้ว ๆ ไว้ก่อนว่า เพราะต้องตื่นแต่เช้าเพื่อมาเตรียมของคนเดียว ดังนั้นถ้าไม่จัดใส่เป็นแก้ว ๆ เอาไว้ เวลาขายแล้วลูกค้าเข้าคราวละหลาย ๆ คน จะทำไม่ทันใจลูกค้า
เตรียมไว้ก่อนก็สะดวกดี และยังดูสวยงามน่ามองอีกต่างหาก นอกจากเมนูน้ำสตรอเบอรี่ลอยแก้วปั่นแล้ว ยังมีรายการน้ำผลไม้ปั่นอื่น ๆ ที่ต้องเตรียมและเรียงเอาไว้ ได้แก่ บลูเบอรี่ + กีวี่, สตรอเบอรี่ + บลูเบอรี่, สตรอเบอรี่ + กีวี่ แต่อีกเมนูไฮไลต์ประจำร้านที่ลูกค้าสั่งแบบไม่ขาดสายคือ “น้ำผลไม้รวม” ซึ่งประกอบด้วยผลไม้สดที่หั่นเป็นชิ้น ๆ ขนาดพอคำเตรียมไว้ ได้แก่ สับปะรด 3 ชิ้น, ฝรั่ง 2 ชิ้น, แครอท 3-4 ชิ้น, มะเขือเทศ 2-3 ผล, บีทรูท 3-4 ชิ้น และแอปเปิ้ล 1-2 ชิ้น และยังมีการขายผลไม้ปั่นแบบแยกเมนูอีก อาทิ กีวี่, ลิ้นจี่ (ใช้น้ำลิ้นจี่กระป๋อง), น้ำลิ้นจี่+สตรอเบอรี่, สับปะรด+แครอท+ แอปเปิ้ล, น้ำเสาวรส+บีทรูท, แตงโม, ส้มสายน้ำผึ้ง และมะเขือเทศราชินี
ก่อนที่จะเข้าขั้นตอนการขายนั้น การลงทุนของร้านคุณตู่นี้ จะเน้นหนักที่วัตถุดิบคือผลไม้สด อย่างผลสตรอเบอรี่ก็จะซื้อยกกล่อง ๆ ละ 10 กก. ที่ห้างแม็คโคร โดยจะใช้ได้ 3 วัน นำผลไม้ต่าง ๆ มาแช่ในตู้เย็นหรือลังน้ำแข็งเอาไว้ เพื่อให้ความสดของผลไม้คงไว้ได้นาน ซึ่งจะจ่ายตลาดคราวละ 2,500-3,000 บาท
ส่วนผลไม้อื่น ๆ อาทิ แอปเปิ้ล 1 ลัง ประมาณ 90-100 ลูก, สับปะรด คราวละ 20 ลูก, แตงโม 5-6 ลูก, ส่วนฝรั่ง, แครอท, มะเขือเทศ, บีทรูท และกีวี่ ให้ดูปริมาณตามความเหมาะสม
ถัดมาอีกวันจากวันที่คุณตู่ซื้อผลสตรอเบอรี่ จะเปลี่ยนไปซื้อของอื่นที่ย่านค้าขายแหล่งใหญ่อย่างปากคลองตลาด ซึ่งซื้อมาทีจะใช้ได้ประมาณ 3 วันเช่นกัน จ่ายตลาดคราวละ 2,000-2,500 บาท ขณะที่อุปกรณ์หลักของร้าน คือ เครื่องปั่นจะใช้ 2 เครื่อง ราคาเครื่อง 2,700 บาท
ในการขาย นอกจากผลไม้ที่ต้องเตรียมแล้ว ก็ต้องเตรียมเกลือป่น, ผงบ๊วย (ให้รสชาติกลมกล่อมชุ่มคอ) ไม่ใส่โยเกิร์ต และนมเปรี้ยว เพราะอากาศร้อน รสชาติไม่ดี และไม่ได้รสชาติของน้ำผลไม้จริง ๆ, น้ำมะนาว และน้ำแข็งวันละ 12 กั๊ก
วิธีขาย : คือ ใส่ผลไม้ที่ลูกค้าสั่งลงไปในเครื่องปั่น ใส่น้ำแข็งประมาณค่อนโถเครื่องปั่น ปรุงรสตามใจลูกค้าด้วยเกลือป่น ผงบ๊วย และน้ำมะนาว แล้วปั่นให้ละเอียด เทใส่แก้ว เท่านี้ก็เรียบร้อย ขายในราคาแก้วละ 20 บาท
คุณตู่บอกว่าถ้าขายได้ 120 ถ้วย จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,200-1,500 บาท ซึ่งหากใครสนใจน้ำผลไม้ปั่นสูตรลูกสาวคุณตู่ ลองไปชิมได้ที่ย่านโรงพยาบาลศิริราช ซอยวังหลัง ขายเวลา 10.00-18.00 น. โทร. 08-1118-7547
ก็เป็นเรื่องของการขาย “น้ำผลไม้ปั่น” ที่อาจจะดูธรรมดา
แต่กำไรไม่ธรรมดาเลย !!.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ช่องทางทำกิน
ฉบับวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 http://www.dailynews.co.th

อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


อาหารพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่น
อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่
ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ
จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน

............. ........


ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร
ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่าง ๆ

ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้ง
รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง

ในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่ง
เกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนา
ทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน

อาหารภาคใต้


อาหารพื้นบ้านภาคใต้


อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้
เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรม
ของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามา
มีอิทธิพลอย่างมาก

..... ..... ..... .....


อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้
เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย
อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน
มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม
จึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

การดูแลแมว

การควบคุมดูแลแมวที่มีอายุมากเกี่ยวกับอาการของโรคต่างๆ
ถ้าแมวที่มีอายุมีท่าทางว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างเกี่ยวกับหน้าที่ของระบบต่างๆในร่างกายมากขึ้น อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากการมีอายุมากขึ้น หรืออาจจะเกิดจากการมีโรคเกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งเหล่านี้จะช่วยเตือนให้รู้ว่าเป็นโรคได้แต่เนิ่นๆ ขบวนการ
1.การควบคุมการกินอาหาร ว่าจะให้กินเมื่อใด กินอาหารประเภทไหน มีการกินหรือการกลืนลำบากหรือเปล่า และอาเจียนหรือไม่
2.การควบคุมการกินน้ำ โดยดูว่ามีการกินน้ำมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่
3.การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระโดยดูที่ สี ปริมาณ ความเข้มข้น ความถี่ในการขับถ่าย หรือดูว่ามีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะหรืออุจจาระหรือไม่ หรือดูว่ามีการขับถ่ายเรี่ยราดหรือไม่
4.ชั่งน้ำหนักทุกๆ 2 เดือน
5.. มีการตรวจและตัดเล็บ ตรวจดูแผลตามตัว รวมถึงกลิ่นที่ผิดปกต การขยายใหญ่ของช่องท้องและดูว่ามีอาการขนร่วงหรือไม่
6..การควบคุมด้านพฤติกรรม ดูการนอน การแสดงออกต่อผู้คนรอบข้างมีอาการตกใจง่ายหรือไม่ และลักษณะท่าทางการนอนผิดปกติหรือไม่
7..การควบคุมด้านท่าทางและการเคลื่อนไหว เช่นมีการชักหรือไม่ การสูญเสียการทรงตัว หรือเจ็บขา
8.ดูความผิดปกติของการหายใจ หรือดูว่ามีการไอ มีการหอบหายใจ การจามหรือไม่
9.ดูแลสุขภาพฟัน แปรงฟันให้แมวอย่างสม่ำเสมอ ดูว่ามีสิ่งผิดปกติในปากหรือไม่ ดูปริมาณน้ำลาย และดูลักษณะสีของเหงือกว่าเป็นสีเหลือง ชมพูหรือม่วง
10.ควบคุมอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมว่าแมวของคุณมีความสุขสบายหรือไม่
11.พาไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ของคุณเป็นประจำ
ลักษณะอาการที่พบบ่อยและโรคที่เกี่ยวข้อง
1. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความเจ็บปวดจากข้ออักเสบหรือสภาวะอื่นๆ การสูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน โรคตับ โรคไต โรค Hepatic lipidosis
2. การอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การทำงานผิดปกติของ Mitral valve โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง โรคอ้อน โรคมะเร็ง
3.การเปลี่ยนแปลงในด้านความกระตือรือร้นของร่างกาย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรค Hyperthyroidism โรคข้ออักเสบ ความเจ็บปวดต่างๆ ความอ้วน โลหิตจาง ความผิดปกติของ Mitral valve และโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง
4.น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความอ้วน
5.น้ำหนักลด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็ง โรคไต โรคตับ โรคของระบบทางเดินอาหาร การกินอาหารลดลง Hyperthyroidism Hepatic lipidosis โรคฟัน ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ Mitral valve โรคหัวใจ การอักเสบของลำไส้
6.การไอ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคหอบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง
7.การดื่มมากและปัสสาวะบ่อย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต Hyperthyroidism
8.การอาเจียน โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคไต โรคตับและโรคของระบบทางเดินอาหาร
9.อาการท้องเสีย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคของระบบทางเดินอาหาร การอักเสบของลำไส้ โรคไต โรคตับ และอาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารเร็วเกินไป
10.การชัก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคลมชัก ( Epilepsy ) โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต
11.อาการลมหายใจเหม็นผิดปกติ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคฟัน โรคมะเร็งในช่องปาก โรคไต
12.อาการขาเจ็บ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การลุกลำบาก การเดินผิดปกติ ข้ออักเสบ ความอ้วน เบาหวาน
13.การกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือการถ่ายเรี่ยราด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การเป็นเนื่องจากข้ออักเสบ การอักเสบของลำไส้ Bladder stones โรคมะเร็ง
14.อาการบวมและการกระแทก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ
15.การเปลี่ยนความอยากของอาหาร โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต ความเครียดและความเจ็บปวดต่างๆ อาจเกิดจากฤทธิ์ของยา โรคปากและฟัน Hyperthyroidism และ Hepatic lipidosis

การดูแลผู้สูงอายุ


การดูแลผู้สูงอายร
สุทัศนีย์ เจริญทองกุล พยาบาลแผนกไตเทียม
ผู้สูงอายุตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก [WHO] กำหนดไว้ คือ ผู้ที่มีอายุมากกกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี เป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในการดูแลจึงต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์โดยแท้จริง ในผู้สูงอายุแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในแง่ของการดูแลจึงไม่สามารถกำหนดเป็นกฎตายตัว แนวทางที่มีโดยทั่ว ๆ ไปก็จะเป็นวิธีการปฏิบัติง่าย ๆ พื้น ๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการพยาบาล และผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ในกระบวนพยาบาลก็สามารถนำไปปฏิบัติได้
ในประเทศไทยนั้นก็มีการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุมาโดยตลอด และในปี 2542 นี้ก็เช่นกัน ทางกรุงเทพมหานครได้จัดกิจกรรมปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุของกทม.ขึ้น เพราะถือว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ ให้แก่สังคมและประเทศชาติอย่างมาก เพราะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตยาวนาน และนับว่าผู้สูงอายุเป็นปูชนียบุคคล ดังนั้น ภายในครอบครัวซึ่งมีผู้สูงอายุก็ยิ่งจะต้องให้ความสำคัญกับท่านเช่นกัน โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นอัมพาต ยิ่งต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษกว่าผู้สูงอายุทั่วๆ ไป
การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในที่นี้ขอแยกกล่าว เป็น 2 ด้าน คือ
1. ด้านร่างกาย
1.1 ภาวะขาดอาหาร น้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีอาการกลืนลำบาก พูดไม่ได้หรือไม่รู้สึกตัว ซึ่งถ้าได้รับการดูแลไม่ทั่วถึงจะทำให้ผอมลง บวมตามผิวหนัง และขาดความต้านทานโรค1.2 มีอาการปวดข้อ ข้อติด และบวมตามแขน-ขา เนื่องจากขาดการเคลื่อนไหว 1.3 กระดูกผุ เปราะบาง และอาจหักได้ เนื่องจากไม่ได้ขยับเขยื้อนเป็นเวลานาน1.4 ปอดบวมจากการสำลักสิ่งต่าง ๆ ลงไปในทางเดินหายใจ หรือการนอนนาน ๆ ทำให้ปอดแฟบ1.5 ปัสสาวะลำบาก หรือมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ1.6 สำลักน้ำลาย เสมหะ หรืออาหารเข้าหลอดลมลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจ1.7 แผลกดทับที่ก้น และบริเวณส่วนนูน ปุ่มกระดูกของร่างกาย จากการกดทับนาน ๆ
2. ด้านจิตใจ
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ เป็นสิ่งสำคัญ ปกติร่างกายและจิตใจของมนุษย์มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แต่มนุษย์มักไม่ค่อยสนใจทางด้านจิตใจ สนใจแต่ทางด้านร่างกาย ทำให้ผู้สูงอายุมักจะว้าเหว่ ซึ่งความว้าเหว่นี้สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอีกมากมาย ผู้สูงอายุทุกคนต้องการได้รับความรักความเอาใจใส่ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ที่รู้สึกว่าตนเองสูญเสียหน้าที่ในชีวิต และหย่อนคุณภาพในสังคม จะมีภาวะวิตกกังวล เศร้าซึม นอนไม่หลับ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
การดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ในการดูแลก็จะแยกตามการเปลี่ยนแปลง คือ การดูแลทางด้านร่างกาย และจิตใจ
1. ด้านร่างกาย
1.1 อาหาร ส่งเสริมให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม จัดอาหารให้เป็นไปตามความชอบและนิสัยการรับประทานอาหารเดิม ย่อยง่าย การเปลี่ยนแปลงอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกายอาจทำให้ผู้สูงอายุรับประทานได้น้อย และได้อาหารไม่ครบส่วนอาจจะต้องเสริมให้ในรูปของยา
1.2 จัดกิจกรรมออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพผู้สูงอายุ โดยมีหลักการคือ- ออกกำลังกายอย่างช้า ๆ เลือกกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้แรงมาก และค่อย ๆ เพิ่มการออกกำลังขึ้นทีละน้อย - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ หรือขณะอากาศร้อนอบอ้าว - หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มากเกินไป
1.3 จัดให้ผู้สูงอายุอยู่ในท่านั่งหรือนอนหัวสูง เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศในปอดได้ดีขึ้นและป้องกันการสำลักจากการรับประทานอาหาร หรือสำลักน้ำลาย
1.4 ผิวหนังของผู้สูงอายุจะแห้ง บาง ฉะนั้นจึงควรอาบน้ำ แต่พอควรและใช้สบู่ให้น้อยเนื่องจากผิวหนังบาง ทำให้เก็บความชุ่มชื้นไม่อยู่ และหลังเช็ดตัวควรใช้โลชั่นมากกว่าแป้ง เนื่องจากแป้งฝุ่นจะเป็นตัวดูดซับความชื้น ทำให้ผิวหนังที่แห้งอยู่แล้ว แห้งมากขึ้น
1.5 ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หลังการขับถ่าย ไม่ปล่อยให้อับชื้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
1.6 การอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ จะเกิดกดทับ ทำให้เป็นแผลกดทับได้ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องคอยหมั่นพลิกตะแคงตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
2. ด้านจิตใจ
ในผู้สูงอายุที่ยังมีร่างกายแข็งแรง และช่วยเหลือตัวเองได้ ปัญหาจะไม่ค่อยมากนักแต่ถ้าเมื่อไรที่ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระแก่ครอบครัวและลูกหลานบุคคลในครอบครัวทุกคนจะต้องพยายามเข้าใจความรู้สึกของผู้สูงอายุ ซึ่งการปฏิบัติตัวที่จะเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ ได้แก่
2.1 ให้ความดูแลเอาใจใส่ไม่แสดงอาการรำคาญ หรือรังเกียจ ไม่ว่าทางสีหน้า ท่าทางหรือด้วยวาจา
2.2 การให้เกียรติและเคารพนบนอบต่อผู้สูงอายุ
2.3 ให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเยี่ยมเยียนเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องในวัยเดียวกัน การมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับบุคคลที่รู้สึกหรือคุ้นเคยมาในอดีต ถือเป็นความสุขอย่างยิ่งของผู้สูงอายุ ซึ่งญาติควรจะหาโอกาสตอบสนองความต้องการนี้แก่ผู้สูงอายุบ้างเป็น

การดูแลสุนัข


ที่อยู่ที่นอนสุนัขควรมีที่อยู่ที่นอนเป็นที่เป็นทางแลเป็นสัดเป็นส่วน อาจจะใช้ผ้าเก่า ๆ หรือเศษผ้านุ่ม ๆ หลายๆชั้นทำเป็นที่นอนขนาดเล็กใหญ่แล้วแต่ความเหมาะสม ส่วนการรรจะเลี้ยงดูสุนัขกกกไว้ในบ้านหรือไม่นั้นคงแล้วแต่ความพร้อมของสมาชิกในครอบครัว ส่วนใหญ่แล้วหากมันยังเล็กอยู่ก็นิยมเลี้ยงไว่ในบ้านเพื่อคอยดูแลและทำให้มันสนิทสนมกับคนในบ้านได้ง่าย แต่ต้องคอยดูแลเรื่องการขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทางหากมีบริเวณบ้านมากพอ ควรเลี้ยงไว้นออกบ้าน โดยสร้างกรงที่ขมีขมันความแข็งแรง กว้างขวางตามขนาดของสุนัขควรมีมุ้งกางให้สุนัขด้วย มีหลังคากันแดดกันฝนได้ และมีฝากันลมในทิศทางที่ถูกต้อง บริเวณที่ตั้งกรงควรเลือกเอาที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น เวลากลางวันต้องมีแสงแดดส่องผ่านเข้าได้บ้างเพื่อฆ่าเชื้อโรคและให้กรงแห้งพื้นกรงควรจะสะดวกในการทำความสะอาด ไม่เป็นที่หมักหมดของสิ่งปฏิกูลต่าง ๆมีที่ระบายของเสียได้สะดวก
การตัดหางสุนัขบางพันธุ์นิยมตัดหาง ให้เหลือความยาวตามลักษณะในพันธุ์นั้นนิยม ซึ่งก็ควรตัดในขณะที่ยังมีอายยังน้อย ๆ อยู่เพื่อที่จะไม่มีเลือดออกมามาก สุนัขไม่เจ็บปวด แผลหายเร็วและทำได้ง่ายโดยไม่ต้องวางยาสลบ ฉะนั้นสุนัขพันธุ์ที่ต้องตัดหางหลังคลอดควรนำลูกสุนัขไปทำการตัดหางภาายในหนึ่งสัปดาห์หากจะตัดหางเองต้องทำในระยะไม่เกิน 7 วันลังคลอด โดยการบูรป่าลิบขนบริเวณหางที่ต้องการตัดออกให้ถึงผิวหนังแล้วทำความสะอาดด้วยการใช้แอลกอฮอล์ หรือทิงเจอร์ไอโอดีน ทาให้ทั่ว ต่อจากนั้นก็รูดผิวหนังขึ้นมาทางโคนหางแล้วใช้เชือกหรือยางรัดไว้ให้แน่นตรงข้อที่ 2 ของกระดูกโคนหาง ใช้กรรไกรที่ฆ่าเชื้อแล้วตัดตรงระหว่างข้อ ของกระดูกที่จะตัด แล้วแต้มด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ทิ้งไว้ 4-5 ชั่วโมง จึงค่อยเอาเชือกหรือยางรัดออกปล่อยให้แผลหาย โดยมากผิวหนังของหางที่รูดขึ้นไปก็จะรูดลงมาเอง หรืออาจจะเย็บปิดก็ได้ถ้าต้องการ
การตัดหูสุนัขบางพันธุ์นิยมตัดหู เช่น บ็อกเซอร์, โดเบอร์แมน, มินิเจอร์ พินเซอร์ และเกรท เดน ซึ่งก็ควรทำการตัดหูเมื่อลูกสุนัขอายุระหว่าง 12-14 สัปดาห์ เพราะขนาดโตพอที่จะทำการผาตัดได้ง่าย ทนต่อการวางยาสลบ หลังจากตัดแล้วหมอจะต้องดามหูไว้จนกว่าหูจะตั้งตรงตามต้องการ ซึ่งกินเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ระหว่างนี้เจ้าของจะต้องคอยดูและอยู่ให้สุนัขเกาแผลจนไไหมที่เย็บหลุด หรือแผลสกปรก เพราะจะทำให้รูปทรงของหูไม่เป็นไปตามต้องการ
การอาบน้ำสุนัขก็เหมือนคนที่จะต้องดูแลรักษาความสะอาดและตกแต่งให้ดูสวย น่ารักอยู่เสมอ เนื่องมาจากมันไม่สามารถจะทำความสะอาดและเสริมสวยให้ กับตนเองได้ ผู้เลี้ยงจึงจะต้องทำหน้าที่ สนใจในตัวของมันเสมือนหนึ่งเป็นตัวของมันเองเลยทีเดียว การอาบน้ำต้องใช้แชมพู และสบู่ควบคู่ไปด้วย ควรเลือกซื้อแชมพูหรือไม่ก็สบู่ที่ผลิตขึ้นสำหรับใช้กับสุนัขเท่านั้น อย่านำแชมพูหรือสบู่ของคนมาใช้กับสุนัขโดยเด็ดขาด เพราะผิวหนังของสุนัขบางชนิดบอบบางมาก หากอาบน้ำด้วยแชมพูหรือสบู่ของคน จะทำให้มีปัญหาเรื่องขนแห้ง หยาบ และมีสะเก็ดรังแคขึ้นบนผิวหนัง บางตัวเป็นหนักถึงอาจจะขนร่วงไปเลยก็มี ปัจจุบันแชมพูสุนัขมีให้เลือกหลายสูตร มีทั้งแบบผสมครีมในตัว ประเภททูอินวัน หรือทรีอินวัน ชนิดที่มีสารฆ่าเห็บ ฆ่าหมัด เยอะแยะมากมายไปหมด ก่อนซื้อควรอ่านดูฉลากข้างขวดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติอะไรบ้าง บรรจุเท่าใด หมดอายุวันไหน แล้วจึงเลือกซื้อมาใช้ให้ถูกกับลูกสุนัขของเรา :: วิธีอาบน้ำให้สุนัข :: อุปกรณ์ต้องเตรียม คือ แชมพูสำหรับสุนัข ผ้าเช็ดตัว อ่างน้ำ หรือสายยาง ที่ต่อจากก๊อกน้ำ เครื่องเป่าผมขั้นตอนการอาบน้ำให้สุนัขทำได้ดังนี้ คือ จับสุนัขให้อยู่ในอ่างนิ่งๆ โดยการจับที่ปลอกคอ เป็นไปได้ควรอุดหูทั้งสองข้าง ของสุนัขด้วยสำลีเพื่อป้องกันมิให้น้ำเข้าหู แล้วจึงค่อยเทน้ำลงบนตัวสุนัขให้ทั่วทั้งตัว ใช้แชมพูสุนัขเทลงบนตัวสุนัข แล้วจึงใช้มือถูนวดแชมพูให้ทั่วในขณะที่มืออีกข้างหนึ่งยังจับปลอกคอสุนัขอยู่เพื่อจะให้มันอยู่นิ่งๆ ล้างแชมพูที่ส่วนหัวของลูกสุนัขก่อน จากนั้นจึงล้างแชมพูที่ลำตัวให้สะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้งทั้งตัว เอาสำลีที่อุดหูออก แล้วเป่าขนให้แห้ง พร้อมกับแปรงขนให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ
การแปรงและหวีขนสุนัขทุกพันธุ์ต้องการแปรงขนเหมือนกัน ไม่จำเป็นว่าสุนัขตัวนั้นจะ ต้องมีขนยาวเพียงเท่านั้น การแปรงหวีขน ของสุนัขบ่อยๆ นอกจากจะ ทำ ให้ขนสวย ขนไม่พันกันแล้ว ยังจะเป็นการทำความสะอาดตัวของสุนัขได้ เพราะเวลาเราแปรงขน สิ่งสกปรกจะถูกกำจัดออกมารวมทั้งบรรดาขนเก่า ที่หลุดออกมา นอกจากนั้นผิวหนังที่ได้รับการ กระตุ้นจากการ หวีหรือแปรงก็จะขับน้ำมันมาเคลือบขนสุนัขทำให้ขนนุ่ม และเป็นเงางาม โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินไปซื้ออาหารเสริมมาให้มันกินให้สิ้นเปลืองเปล่า ๆ ควรฝึกหวี และแปรงขนสุนัขแต่เล็ก ๆ เพื่อจะได้เคยชินและยอมให้เรา เสริมสวยแต่โดยดี แปรงด้วยแปรงขนอ่อน ลูบไล้ด้วยฟองน้ำ แปรงด้วยหวีซี่ห่าง ตัดขนด้วยกรรมไกร ขจัดเห็บหมัด สุนัขไม่ชอบหากคุณแปรงขนย้อนทาง เทคนิคการหวีและแปรงขนสุนัขการแปรงขนสุนัขทุกวันจะทำให้สุนัขมีสุขภาพดี ขนเป็นเงางาม ไม่มีสิ่งสกปรกหมักหมมอยู่ ในขนสุนัข พันธุ์ขนยาว เช่น อาฟกัน ฮาวด์ ชิสุ ควรหวี ทุกวัน ส่วนสุนัขพันธุ์ขนสั้น เช่น บลูด็อก เกรดเดน แปรงขนเพียง2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ก็พอ ส่วนสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ลต้องใช้การตัดแต่งขน จะหวีให้ตรงแบบสุนัขพันธุ์อื่นไม่ได้ :: การหวีขนสุนัขพันธุ์ขนสั้นอุปกรณ์ที่ใช้มีแปรงบิสเทิล แปรงหวีสลิดเกอร์ หวีตรง ขั้นตอนการหวี มีดังนี้ - ใช้หวีแปรงสลิดเกอร์หวีก่อน เพื่อจำกัดเอาขนที่พันออกไม่ให้เกิดก้อน สังกะตัง ออกแรงหวีเพียง เบาๆนุ่มๆ หวียาวๆ จากคอถึงลำตัวทำเช่นนี้ทั่วตัว - ใช้หวีบิสเทิลแปรง เพื่อเอาขนที่ตายแล้วและสิ่งสกปรกให้หลุดออกจากขนของสุนัขทั้งตัว - ใช้หวีตรง หวีบริเวณที่ยาว เช่น ส่วนของหาง เท้า ขา ถ้าพบว่าขนพันกันให้ใช้กรรไกรตัดออก สุนัขจะได้ไม่เจ็บ:: การหวีขนสุนัขที่สั้นเกรียนอุปกรณ์ที่ใช้มี แปรงรับเบอร์ หนังชามัวร์ แปรงบิสเทิล - ใช้แปรงรับเบอร์ เพื่อแปรงย้อนขนสุนัขจะทำให้ขนตาย และสะเก็ด ผิวหนัง สิ่งสกปรกหลุดออกโดยง่าย - ใช้แปรงบิสเทิล แปรงขนตัวสุนัขอีกครั้งให้ทั่วทั้งตัว เพื่อเอาขนที่ตายและสะเก็ดออก - เช็คขนสุนัขด้วยหนังชามัวร์ เพื่อให้ขนเป็นมันเงางาม:: การหวีขนสุนัขที่ขนตรงยาวอุปกรณ์ที่ใช้มีแปรงสลิดเกอร์ แปรงบิสเทิล หวีตรง กรรไกร - ใช้แปรงสลิดเกอร์หวีขนก่อน เพื่อทำให้ขนที่พันกันอยู่คลายตัวออก - ใช้แปรงบิสเทิลหวีตามอีกครั้ง เพื่อทำให้ขนมันเงา และหวีง่ายขี้นไปอีก - ใช้หวีตรง หวีจัดให้ขนของสุนัขตกลงไปข้างลำตัว ด้านซ้ายและด้านขวาตามแนวขน - ใช้กรรไกรตัดแต่งบริเวณเท้าและหู เพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดูสวยงาม
การดูแลหูหูมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง สุนัขที่มีหูปกติจะต้องมีสีชมพูเรื่อๆ สะอาด ไม่มีกลิ่นผิดปกติ หูควรสะอาดไม่มีขี้หูมากจนเกินไป ไม่มีเห็บ หรือหมัด ไม่เป็นแผล หนอง สุนัขบางพันธุ์รวมทั้งพวกพุดเดิ้ล มักมีขนขึ้นที่บริเวณช่องหู ขนเหล่านี้จะเป็นตัวเพาะเชื้อโรค และหมักหมมส่งสกปรกทั้งหลายได้เป็นอย่างดี พวกหูยานก็เก็บสิ่งสกปรกต่าง ๆ ได้ง่ายจึงต้องหมั่นเอาใจใส่เช็ดถูสิ่งสกปรกในช่องหูออกให้หมด พวกหูตั้งนี้รักษาง่าย เพราะช่องหูสามารถถ่ายเทกับอากาศภายนอกได้โดยธรรมชาติ ฉะนั้นสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงไม่สามารถหมักหมมจนเกิดโรคได้มากนัก ถ้าหูสุนัขสกปรกมากก็ควรใช้สำลีหรือผ้านุ่มๆ เช็ดบริเวณใบหูและรูหูส่วนนอก ๆ เป็นประจำทางที่ดีหลังการอาบน้ำ เพราะสามารถตรวจสอบว่ามีน้ำหลงเหลือเข้าไปในรูหูหรือไม่ ถ้ามีจะได้เช็ดออกให้แห้ง เป็นการป้องกันหูอักเสบได้ด้วย แต่อย่าได้พยายามทำความสะอาดลึกเข้าไปในรูหูเป็นอันขาด บริเวณอ่อนไหวดังกล่าวควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์
การดูแลตาตาของสุนัขที่มีสุขภาพดีจะมีแววตาแจ่มใส ไม่ขุ่นมัวหรือมีสีแดง หรือมีขี้ตา รวมทั้งน้ำตาไหลเป็นคราบอยู่เสมอก็แสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกติเข้าตา ถ้าเป็นโรคตาอักเสบธรรมดาเพราะผงเข้าตา ก็ควรใช้น้ำยาล้างตา 4-5 หยด ใส่เพื่อให้สิ่งสกปรกออกก่อน แล้วใช้ผ้าที่สะอาดเช็ดเบา ๆ รอบ ๆ ขอบตาออกได้ ถ้าเป็นมากกว่านี้ควรจะนำไปพบสัตวแพทย์สุนัขบางพันธุ์ เช่น พวกพุดเดิ้ล มักมีรอยด่างสีน้ำตาลที่ขนใต้ตาเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะขนบริเวณนั้นเปียกแฉะเนื่องจากหยาดน้ำตาของสุนัข คราบน้ำตานี้จะติดแน่นที่หัวตาย้อยลงมา การกำจัดรอยด่างนี้ทำได้โดยการหมั่นเช็ดถูให้บ่อยๆครั้งทุกวัน เพื่อให้ขนที่ติดคราบน้ำตานี้ค่อย ๆหลุดร่วงหมดไปสุนัขบางตัวตาแฉะ อาจจะเป็นเพราะขนตาขึ้นผิดปกติ แยงเข้าไปในลูกตา การรักษาอาการนี้ควรเป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์
การดูแลฟัน โดยปกติแล้วสุนัขฟันผุได้ยากมาก แต่ที่เห็นบ่อยคือ เหงือกอักเสบ เกิดจากฟันสุนัขไม่สะอาด ขี้ฟันหมักหมมจนจับเป็นคราบสีเหลืองเกาะติดที่ผิวฟัน คือ หินปูนนั่นเอง บางทีหินปูนมีมากและลุกลามไปจนถึงเงือก ทำให้เหงือกอักเสบ มีกลิ่นปาก จนกระทั่งฟันหลุดไปในที่สุดวิธีป้องกันการจับตัวของหินปูน ควรให้สุนัขกินอาหารสำเร็จรูปที่เป็นเม็ดแห้ง หรือให้แทะกระดูกเสียบ้างเพื่อขัดฟัน แต่ถ้าจะให้ดีจริงๆ ควรให้สัตวแพทย์ตรวจฟันทุกปี สุนัขบางพันธุ์ก็มีการจัดเรียงตัวของฟันที่แย่มาก มีเหงือกเป็นหนองและฟันหลุดเสมอการให้แทะกระดูกไม่อาจช่วยได้เลย พวกนี้ต้องตรวจฟัน และทำความสะอาดเสมอโดยสัตวแพทย์
การดูแลเล็บเล็บสุนัขจะงอกจิกลงดิน มันจะสึกไปเองโดยธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นสุนัขที่เลี้ยงบนพื้นไม้หรือพื้นซีเมนต์ มักจะพบปัญหาเล็บไม่สึก มีเล็บยาวเร็วกว่าปกติทำให้เดินไม่สะดวก และเมื่อทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้นิ้วคด หรือแยกห่างออกจากกัน บางทีก็ถอนหรือฉีกแตกจนเกิดหนองได้ จะทำให้สุนัขเจ็บปวดมากเวลาเดิน ฉะนั้นจึงต้องหมั่นตรวจดูแลตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอการตัดเล็บสุนัขควรใช้กรรไกรสำหรับการตัดโดยเฉพาะ จะทำได้โดยง่ายและปลอดภัย ได้รอยตัดที่กลมโค้ง การตัดควรตัดที่ปลายเพียงเล็กน้อย ระวังอย่าตัดให้ถูกปลายประสาทสีชมพูในเล๋บได้สุนัขที่มีเล็บดำไม่สามารถมองเห็นปลายประสาทนี้ได้ ฉะนั้นตัดเล็บจึงทำได้แค่คลิบปลายเพียงเล็กน้อย หรือตัดตรงตำแหน่งต่ำจากบริเวณที่มีเลือดมาเลี้ยงสัก 3มิลลิเมตร การตัดเล็บควรทำทุกเดือน โดยหลังการอาบน้ำ เพราะเล็บที่เปียกน้ำจะอ่อนตัดง่ายกว่าธรรมดา

การดูแลสุขภาพตนเอง

การดูแลสุขภาพตนเอง
โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น ในเรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ
การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่
การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม การที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การดูแลผิวหน้า

สูตรขจัดสิวหัวดำ นำมะเขือเทศสดมาปั่นรวมกับข้าวโอ๊ตให้เข้ากัน แล้วผสมน้ำผึ้ง สักเล็กน้อยนำมาทา บนใบหน้าให้ทั่ว เน้นเป็นพิเศษบริเวณ ที่มีสิวหัวดำ แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น มาร์คพอกหน้าสูตรใบเตย นำใบเตย4-5 ใบมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปปั่นรวมกับไข่ไก่ 2ช้อนโต๊ะจะได้มาร์คพอกหน้าเป็นครีมข้นๆ หอมกลิ่นใบเตย พอกหน้าไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วล้างหน้าตามปกติ ถนอมผิวหน้าด้วยโยเกิร์ต ล้างหน้าให้สะอาด ซับเบาๆด้วยผ้าขนหนู แล้วใช้มือแตะ โยเกิร์ต(ให้ใช้ชนิดที่ไม่ผสมเนื้อผลไม้) มาพอกให้ทั่วผิวหน้า เว้นรอบปากและดวงตา นวดและคลีงเบาๆ พอกไว้ประมาณ 20 นาที จึงล้างออก หมั่นทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ผิวจะเปล่งปลั่ง สดใสอมชมพูทีเดียวค่ะ ครีมพอกหน้าสำหรับสาวผิวมันและผิวผสม ให้ใช้แตงกวา1 ผล ไขไก่ 1 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่ขาว) และมะนาว 1 เสี้ยว หั่นแตงกวาเป็นแว่นบางๆ นำไปปั่นพร้อมกับไข่ขาว และบีบน้ำมะนาวลงไป ปั่นจนละเอียดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบปากและดวงตาไว้ ทิ้งไว้ ประมาณ 20 นาที แล้วจึงล้างหน้าตามปกติ หมั่นทำบ่อยๆ ทุก สัปดาห์ จะช่วยลดความมันส่วนเกิน และยังช่วยสมานผิวหน้า กระชับรูขุมขน ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียน เต่งตึง และนวลนุ่ม ชุมชื่น เพื่อเรียวขาสวย ก่อนนอน นำมะนาวเปรี้ยวๆสักหนึ่งเสี้ยว บีบลงในดินสอพอง พอหมาด ทาให้ทั่วขา ทิ้งไว้สักหนึ่ง